เทคนิคการติดตั้งปั๊มน้ำทั่วไป

หมวดหมู่: บทความปั๊มน้ำ

เทคนิคการติดตั้งปั๊มน้ำ

          การติดตั้งปั๊มน้ำนั้นมีปัจจัยที่สำคัญหลายประการ ซึ่งมีผลต่อการทำงานและอายุการใช้งานของปั๊มน้ำ ดังนั้นผู้ติดตั้งควรศึกษาคู่มือการใช้งานอย่าง ละเอียดก่อนการติดตั้ง และศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จากบทความนี้

 

ปัจจัยทีเกี่ยวข้องกับการติดตั้งปั๊มน้ำ

1.กำหนดความต้องการ และรูปแบบการใช้งาน

2.ลักษณะสถานที่ หรือจุดติดตั้ง

3.การวางระบบท่อน้ำ

4.การวางระบบไฟฟ้า

 

1.กำหนดความต้องการ และรูปแบบการใช้งาน

   การกำหนดข้อมูลความต้องการ และรูปแบบการใช้งาน เป็นพื้นฐานในการเลือกชนิด และรุ่นของปั๊มน้ำ   เช่นต้องการปั๊มน้ำที่ใช้ในการอุปโภค บริโภค ภายในบ้านพักอาศัย ลักษณะเป็นตึก 3 ชั้น อัตราการใช้น้ำประมาณ 15-90 ลิตร/นาที มีจุดใช้น้ำ 3จุด ต้องการให้ปั๊มเปิด-ปิด การทำงานแบบอัตโนมัติ เป็นต้น การเลือกชนิดปั๊มหรือขนาดปั๊มที่ไม่เหมาะสมหรือจะทำให้เกิดปัญหาในการใช้งานได้ เช่น เลือกปั๊มขนาดเล็กเกินไป จะทำให้แรงดันน้ำและปริมาณน้ำไม่เพียงพอ หรือการเลือกปั๊มขนาดใหญ่เกินไปก็จะทำให้ปั๊มทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพและยังสิ้นเปลืองค่าไฟ เป็นต้น ดังนั้นการเลือกปั๊มน้ำจะต้องพิจารณาข้อมูลให้ชัดเจนเพื่อการเลือกปั๊มให้เหมาะกับความต้องการมากที่สุด

 

2.ลักษณะสถานที่ หรือจุดติดตั้ง

   การกำหนดจุดติดตั้งที่ดีและอยู่ในสถานที่ที่เหมาะสม จะทำให้ปั๊มทำงานได้ดีและมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน โดยส่วนใหญ่ให้เลือกพิจารณาดังต่อไปนี้

      1).ปั๊มน้ำควรติดตั้งห่างจากกำแพง 30 เซนติเมตร (หรือไม่ต่ำกว่า 15 เซนติเมตร) เพื่อช่วยในการระบายความร้อนและเพื่อความสะดวก ในการแก้ไข หรือการซ่อมบำรุงปั๊มน้ำ

      2).จุดติดตั้งต้องไม่มีน้ำท่วมขัง เพราะจะทำให้เกิดความชื้นในตัวมอเตอร์และแผงควบคุมในปั๊มน้ำอัตโนมัติบางรุ่น

      3).จุดติดตั้งไม่ควรติดกับห้องพักอาศัย เพราะขณะปั๊มน้ำทำงานจะมีเสียงเกิดขึ้น ซึ่งอาจรบกวนการพักผ่อนได้

      4).หลีกเลี่ยงการติดตั้งปั๊มน้ำกลางแจ้ง โดยเฉพาะใต้ชายคาของหลังคาบ้านหรืออาคารเนื่องจากน้ำจากชายคาจะตกลงสู่ตัวปั๊มโดยตรง หากไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ควรทำหลังคาป้องกันน้ำจากชายคา

          ตัวอย่างปั๊มติดใต้ชายคา

                        (รูปที่1 ตัวอย่างตำแหน่งใต้ชายคา)                                (รูปที่2 ตัวอย่างปั๊มที่มีหลังคาป้องกัน)

3.การวางระบบท่อน้ำ

   การวางระบบท่อมีผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของปั๊มน้ำแล้วยังช่วยลดเวลาในการทำงานของปั๊มน้ำทำให้ประหยัดพลังงานไฟฟ้าโดยมีข้อปฏิบัติดังนี้

      1).ท่อด้านดูดต้องมีขนาดไม่เล็กกว่าที่ตัวปั๊มน้ำกำหนด การเลือกใช้ท่อด้านดูดที่มีขนาดใหญ่กว่าสเปค 1 ขนาด จะทำให้ปั๊มทำงานได้ดี ยิ่งขึ้น (เช่น ด้านดูดปั๊มน้ำมีขนาดท่อ 1 นิ้ว สามารถเลือกใช้ท่อขนาด 1 1/2 นิ้วแทนได้) การเดินท่อด้านดูดนี้ควรมีจุดหักงอน้อยที่สุด

      2).กรณีถังพักน้ำแบบใต้ดิน ตำแหน่งท่อด้านดูดที่หน้าปั๊มต้องอยู่สูงกว่าท่อที่จะต่อลงถังพักน้ำเสมอ เพื่อป้องกันไม่ให้อากาศขังอยู่ ที่ท่อด้านดูด

      3).ปั๊มควรอยู่ใกล้ถังพักน้ำให้มากที่สุด การติดตั้งปั๊มไกลจากถังพักน้ำจะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของปั๊มน้ำลดลง

      4).ท่อด้านจ่ายน้ำควรมีการแยกเมนต์การใช้งานและมีวาวล์ เปิด-ปิด เพื่อการใช้งานและการทดสอบกรณีมีการรั่วซึมซึ่งง่ายต่อการซ่อม บำรุงเช่นการแยกชั้น หรือแยกโซนการใช้งาน เป็นต้น 

      5).การใช้ใบเลื่อยตัดท่อ PVC จะทำให้มีเศษ PVC ติดอยู่ที่ท่อ ผู้ติดตั้งต้องทำความสะอาดเศษ PVC ออกให้หมดด้วยกระดาษทรายหรือ วัสดุใกล้เคียง หากเศษ PVC หลุดเข้าไปติดอุปกรณ์ต่างๆในตัวปั๊ม จะทำให้ปั๊มทำงานผิดปกติ เช่น แรงดันน้ำเบา มีเสียงดัง หรือ ปั๊ม ไม่ตัดการทำงาน (กรณีเป็นรุ่นอัตโนมัติ) เป็นต้น

      6).การต่อท่อด้วยน้ำยาประสานท่อ(กาว) หลังการต่อท่อเข้าด้วยกันควรทิ้งไว้ให้กาวแข็งตัว (ประมาณ 10นาที) ก่อนการใช้งานปั๊ม สำหรับปั๊มรุ่น CMCH การทากาวท่อด้านส่งที่ต่อออกจากปั๊มต้องระวังไม่ให้กาวย้อยลงไปในตัว Controller ซึ่งจะทำให้ปั๊มทำงานผิดปกติ

4.การวางระบบไฟฟ้า

      1).สายไฟและอุปกรณ์ เช่น เบรคเกอร์ ต้องมีขนาดตามมาตรฐานของปั๊มน้ำแต่ละรุ่น

      2).ต้องมีระบบสายดินเพื่อป้องกันกระแสไฟรั่ว

      3).จุดเชื่อมต่อสายไฟหรือแหล่งจ่ายไฟต้องไม่เปิยกชื้น หรือต้องไม่เป็นจุดที่มีน้ำหรือฝนกระเด็นถึง

 

การติดตั้งปั๊มน้ำแบบหอยโข่ง Centrifugal Pump

     การเดินระบบท่อด้านดูด (Suction)

     1.ระดับน้ำต่ำกว่าตัวปั๊ม หรือแบบถังพักน้ำใต้ดิน

       1).นำท่อที่ใส่วาล์วกันกลับ Foot Valve แล้วจุ่มลงในถังพักน้ำใต้ดิน ให้ตำแหน่ง Foot Valve สูงจากพื้นก้นถัง 30-50เซ็นติเมตร   เพื่อป้องกันปั๊มดูดสิ่งสกปรกที่ก้นถังพักน้ำ

       2).เดินแนวท่อเข้าหาตัวปั๊มโดยมีระนาบลาดเอียงลงหาถังพักน้ำ เพื่อป้องกัน การมีอากาศตกค้างหลังจากการทำการไล่อากาศ และควรมี จุดโค้งงอน้อยที่สุด และไม่ควรจุดโค้งงอลักษณะเป็นตัวยูคว่ำ หากมีต้องทำจุดกอกน้ำไล่อากาศในตำแหน่งนั้นเพิ่ม

       3).ใส่สามทางกรอกน้ำไล่อากาศ ก่อนการต่อท่อเข้าปั๊ม

     2.ระดับน้ำสูงกว่าตัวปั๊ม หรือแบบถังพักน้ำบนดิน

       1).เดินท่อจากถังพักน้ำ จุดที่วางถังต้องไม่กีดขวาง และการเดินท่อน้ำเข้าได้สะดวก

       2).ใส่วาล์วปิด-เปิด ใกล้ถังพักน้ำ เพื่อปิดน้ำในกรณี แก้ไข หรือซ่อมปั๊มน้ำ,ท่อน้ำ

       3).เดินท่อตามรูปแบบที่แสดงไว้

       4).ต่อท่อเข้ากับตัวปั๊มในตำแหน่งด้านดูด  ท่อตำแหน่งนี้ควรมีลักษณะตรง และมีระยะความยาวที่ 6-8 เท่าของขนาดท่อ

 

การติดตั้งปั๊มน้ำแบบอัตโนมัติ (Automatic Pump)

     การเดินระบบท่อด้านดูด (Suction)

     1.ระดับน้ำสูงกว่าตัวปั๊ม หรือแบบถังพักน้ำบนดิน

        1).เดินท่อจากถังพักน้ำ จุดที่วางถังต้องไม่กีดขวาง และการเดินท่อน้ำเข้าได้สะดวก

        2).ใส่วาล์วปิด-เปิด ใกล้ถังพักน้ำ เพื่อปิดน้ำในกรณี แก้ไข หรือซ่อมปั๊มน้ำ,ท่อน้ำ

        3).เดินท่อตามรูปแบบที่แสดงไว้ 

        4).ใส่วาล์วกันย้อน Check Valve ทิศทางลูกศรเข้าหาตัวปั๊ม โดยตำแหน่งที่ติดตั้งควรเป็นตำแหน่งที่สามารถถอดทำความสะอาด หรือเปลี่ยนได้ง่าย

        5).ต่อท่อเข้ากับตัวปั๊มในตำแหน่งด้านดูด ท่อตำแหน่งนี้ควรมีลักษณะตรง และมีระยะความยาวที่ 6-8 เท่าของขนาดท่อ

     2.ระดับน้ำต่ำกว่าตัวปั๊ม หรือแบบถังพักน้ำใต้ดิน

        1).นำท่อใส่วาล์วกันกลับ Foot Valve แล้วจุ่มลงในถังพักน้ำใต้ดินให้ตำแหน่ง Foot Valve สูงจากพื้นก้นถัง 30-50 เซ็นติเมตร เพื่อป้องกันปั๊มดูดสิ่งสกปรกที่ก้นถังพักน้ำ

        2).เดินแนวท่อเข้าหาตัวปั๊มโดยมีระนาบลาดเอียงลงหาถังพักน้ำ เพื่อป้องกัน การมีอากาศตกค้างหลังจากการทำการไล่อากาศ และควรมีจุดโค้งงอน้อยที่สุด และท่อไม่ควรมีจุดโค้งงอลักษณะเป็นตัวยูคว่ำ หากมีต้องทำจุดกรอกน้ำไล่อากาศในตำแหน่งนั้นเพิ่ม

        3).ใส่วาล์ว เปิด-ปิด 1 ตัว เพื่อใว้ทดสอบท่อด้านดูดกรณีมีการรั่วซึม

        4).ใส่สามทางกรอกน้ำไล่อากาศ ก่อนการต่อท่อเข้าปั๊ม

*ต้องใส่วาล์วกันกลับที่ด้านดูดตามที่ระบุทุกครั้ง ทั้งการติดตั้งแบบถังพักบนดินหรือใต้ดิน

                    (รูปที่3 การติดตั้งแบบถังพักน้ำบนดิน)                                            (รูปที่4 การติดตั้งแบบถังพักน้ำใต้ดิน)

ขั้นตอนการเดินระบบท่อด้านจ่าย (Discharge)

       1.เดินท่อออกจากด้านจ่ายของตัวปั๊ม พร้อมใส่วาล์วเปิด-ปิด 1ตัว เพื่อทดสอบการรั่วซึมของระบบ และปิดกันน้ำย้อนกรณีถอดปั๊มซ่อม

        2.ทำการต่อสามทางกับระบบน้ำประปา เพื่สำรองการใช้งาน กรณีไฟดับ และปั๊มเสียไม่ทำงาน ก่อนต่อท่อไปที่จุดใช้งาน

 

ตัวอย่างการติดตั้งแบบถังพักน้ำที่ระดับน้ำสูงกว่าตัวปั๊ม "แบบปั๊มน้ำ 2 ตัว"

 

*ควรศึกษาคู่มือการใช้งานให้ละเอียดก่อนการติดตั้งและใช้งานปั๊มน้ำ

13 กรกฎาคม 2562

ผู้ชม 74905 ครั้ง

Engine by shopup.com